ความสำคัญและพันธกิจ

ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่เชื่อมโยงกับความตกลงปารีสที่มีเป้าหมายการควบคุมอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส นับเป็นปัจจัยที่มีความท้าทายอย่างมากต่อการดำเนินธุรกิจที่ต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ทั้งทางกายภาพจากการเกิดภัยธรรมชาติที่รุนแรง และการเปลี่ยนแปลงระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้บริษัทฯ ต้องเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงความคาดหวังและความต้องการที่เพิ่มขึ้นของลูกค้าในปัจจุบันและในอนาคตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ ให้สามารถจัดการและตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า และกฎระเบียบต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป

โครงสร้างการกำกับดูแลบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

บริษัทฯ ได้จัดให้มีโครงสร้างและคณะทำงานที่ชัดเจนด้านการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมถึงการบริหารจัดการกับภัยเรือนกระจก โดยจัดให้มีคณะกรรมการด้านธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยง ที่มีหน้าที่ดูแลให้บริษัทบริหารจัดการความเสี่ยงและประเมินผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น พร้อมบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสามารถตอบสนองยังเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งผ่านการกำกับดูแลทุกกิจในการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน พร้อมทั้งดูแลการปฏิบัติงานตามแผน และส่งเสริมด้านงานภาคสมัครใจที่เป็นผลด้านบวกในการบริหารจัดการต่างๆ ที่เกี่ยวกับการจัดการด้านความยั่งยืน ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมด้านการใช้พลังงาน การจัดการของเสีย และกิจกรรมสนับสนุนอื่นๆ อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเชิงบวก ในการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเพื่อให้รายงานได้อย่างละเอียดตามบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม แสดงไว้ในแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2567 (แบบ 56 - 1 One Report) หัวข้อ ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการชุดย่อย

โครงสร้างการกำกับดูแลทางด้านความยั่งยืน

เป้าหมายและผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

  • รายงานและเปิดเผยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกพื้นที่ภายใต้การบริหารจัดการของบริษัทฯ 100% เพื่อกำหนดเป็นปีฐาน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

ปี 2567 นี้ มีการเก็บข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดจำนวน 8 พื้นที่ ครอบคลุมพื้นที่สำนักงาน พื้นที่สวนอุตสาหกรรม สนามกอล์ฟ และพื้นที่เช่าอื่นๆ ของบริษัทฯ ครบทุกพื้นที่เป็นครั้งแรก ซึ่งจะ ใช้กำหนดเป็นปีฐานในการกำหนดเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

พลังงานสะอาดและเข้าถึงได้

โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมและอุตสาหกรรม

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการและดำเนินกิจการให้สอดคล้องกับกับทิศทางของการดำเนินงานของธุรกิจในอนาคตเพื่อมุ่งสู่ธุรกิจพลังงานสะอาดและ สังคมคาร์บอนต่ำ โดยให้ความสำคัญต่อการศึกษาและเพิ่มการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งการปรับกระบวนการดำเนินงาน โดยให้ความสำคัญของความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้กลยุทธ์ "วัด ลด ชดเชย" เพื่อตอบสนองและมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในอนาคต

กลยุทธ์การจัดการก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

วัด
คำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของบริษัทฯ ในพื้นที่ที่บริษัทฯ มีอำนาจในการควบคุมการบริหาร
ลด
เพิ่มประสิทธิภาพและบริหารจัดการกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพเพื่อลดการใช้ทรัพยากรและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ชดเชย
ดำเนินกิจกรรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือการเพิ่มการกักเก็บคาร์บอนเพื่อชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนที่เหลือของบริษัท เพื่อมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน

ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร

พื้นที่ดำเนินกิจการ ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร (หน่วย: Ton Co2e)
ขอบเขตที่ 1 ขอบเขตที่ 2 ขอบเขตที่ 3 อื่นๆ
สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ 112.46 104.89 75.38 157.78
สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี 178.33 1,327.00 191,420.10 15.24
สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี 270.21 1,900.83 554.33 48.09
สนามกอล์ฟกบินทร์บุรี สปอร์ตคลับ จังหวัดปราจีนบุรี - - - -
สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ลำพูน 128.16 924.68 369.69 6.62
สนามกอล์ฟหริกุญชัย กอล์ฟคลับ จังหวัดลำพูน - - - -
สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ แม่สอด จังหวัดตาก 18.02 58.18 20.48 1.06
เจพาร์ค ศรีราชา นิฮอน มูระ จังหวัดชลบุรี 1.61 645.39 4,346.28 5.38
รวมปริมาณการใช้ทั้งหมด 708.79 4,960.97 196,786.27 234.17
รวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ขององค์กรทั้งหมด (ขอบเขตที่ 1 + 2 + 3)
202,690.20
รวมปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
tonCO2-eq
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
คาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

พนักงาน/ผู้บริหาร

มีส่วนร่วมในการลดการปล่อยคาร์บอนภายในองค์กร

ลูกค้า

สนับสนุนผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ชุมชนและสังคม

ได้รับประโยชน์จากโครงการด้านสิ่งแวดล้อมและการลดมลพิษ

ภาครัฐ

กำกับดูแลและสนับสนุนการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม

คู่ค้า

มีส่วนร่วมในการใช้วัตถุดิบและพลังงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

เอกสารที่เกี่ยวข้อง