ห่วงโซ่คุณค่าของ SPI

การพัฒนาธุรกิจ
สร้างโอกาสการลงทุนและบริหารเงินลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มเน้นการกระจายการลงทุนเพื่อบริหารและจัดการความเสี่ยง รวมถึงการพัฒนาพื้นที่สวนอุตสาหกรรมในหลากหลายรูปแบบและความสมบูรณ์แบบของการเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและการพัฒนา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่สอดคล้องกับความต้องการใช้ชีวิตในปัจจุบัน
ผู้มีส่วนได้เสีย

พนักงาน/ผู้บริหาร

ผู้ถือหุ้น

คู่ค้า

ภาครัฐ

การจัดหาที่ดิน และทรัพยากร
การจัดหาที่ดิน อาคาร ทรัพยากรต่างๆ และระบบสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้า และบริการ แหล่งเงินทุน ทรัพยาการบุคคล โดยกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ ด้วยมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ และกฏหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคารพสิทธิมนุษยชน ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม
ผู้มีส่วนได้เสีย

พนักงาน/ผู้บริหาร

ผู้ถือหุ้น

ภาครัฐ

เจ้าหนี้

ชุมชนและสังคม

การพัฒนาสินค้า และบริการ
การพัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างประโยชน์และคุณค่าให้กับบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาสวนอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัฒกรรม และตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผู้มีส่วนได้เสีย

พนักงาน/ผู้บริหาร

คู่ค้า

ภาครัฐ

ลูกค้า

ชุมชนและสังคม

การส่งมอบคุณค่าของสินค้าและบริการ
การส่งมอบสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีการสื่อสารให้คำปรึกษาและแนะนำ รวมถึงการรับฟังความคิดเห็นในเรื่องการดำเนินธุรกิจ ผ่านช่องทาง ที่บริษัทกำหนด เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนา เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าและบริการ
ผู้มีส่วนได้เสีย

พนักงาน/ผู้บริหาร

คู่ค้า

ภาครัฐ

ลูกค้า

ชุมชนและสังคม

การบริหารความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
การสร้างและสานสัมพันธ์ระหว่างบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงและโดยอ้อม รวมถึงการสร้างประสบการณีที่ดีและมุ่งมั่น ที่จะพัฒนาสภาพแวดล้อมให้ร่มรื่นบรรยากาศอบอุ่น สำหรับทุกคนภายใต้ปรัชญา "สร้างสิ่งที่มากกว่าคำว่าเขตอุตสาหกรรม"
ผู้มีส่วนได้เสีย

พนักงาน/ผู้บริหาร

ผู้ถือหุ้น

คู่ค้า

ลูกค้า

ชุมชนและสังคม

คู่แข่ง

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ

บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีบทบาทและมีความเกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร ตลอดห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจเพื่อการประเมินระดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสีย และผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งในทางตรงและทางอ้อม

เพื่อกำหนดแนวทางและแนวปฏิบัติในการตอบสนองต่อความคาดหวังพร้อมสร้างการมีส่วนร่วม ของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งบริษัทฯ ได้ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทั้งทางตรงและทางอ้อมออกเป็นทั้งหมด 8 กลุ่มตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี คือ

ผู้มีส่วนได้เสียทางตรง
ได้แก่ ผู้ถือหุ้น พนักงาน/ผู้บริหาร ลูกค้า คู่ค้า และชุมชนและสังคม
ผู้มีส่วนได้เสียทางอ้อม
ได้แก่ เจ้าหนี้ คู่แข่ง และภาครัฐ
นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้จัดอันดับความสำคัญของผู้มีส่วนได้เสียผ่านกระบวนการ วิเคราะห์และให้ความสำคัญจากคณะทำงานด้านความยั่งยืน และคณะกรรมการ ยั่งยืน กิจการ ผ่านการพิจารณา 3 ปัจจัย คือ ผู้มีส่วนได้เสียที่สร้างผลกระทบต่อการดำเนินงาน การดำเนินงานของบริษัทฯ บริษัทฯ สร้างผลกระทบผู้มีส่วนได้เสีย และ ผู้มีส่วนได้เสียจะมีอิทธิพลกับบริษัทฯในอนาคตซึ่งผลลัพธ์พบว่า 5 อันดับแรก ของ กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทางตรง ประกอบด้วย 1. ลูกค้า 2. พนักงาน 3. คู่ค้า 4. ชุมชนและสังคม 5. ผู้ถือหุ้น ตามลำดับ

แนวทางและผลการดำเนินงานกับผู้มีส่วนได้เสีย

แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

  • การจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี
  • สื่อสารผ่านสื่อออนไลน์
  • รายงานประจำปี
  • ช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อร้องเรียน
  • เปิดให้เยี่ยมชมการดำเนินงานในสวนอุตสาหกรรม

ความคาดหวัง

  • มีผลตอบแทนที่เหมาะสม
  • มีศักยภาพในการสร้างการเติบโตทางธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
  • มีระบบการบริหารความเสี่ยง
  • มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

การตอบสนองความคาดหวัง

  • เปิดเผยผลการดำเนินงานอย่างถูกต้อง ครบถ้วน โปร่งใส ตรวจสอบได้ และปฏิบัติตามหลักกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • วิเคราะห์ ทบทวนความเสี่ยงของบริษัทอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
  • มองหาการลงทุนตามแนวโน้มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • พัฒนานวัฒกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเป็นการลดต้นทุน และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  • ทบทวนหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีของบริษัทฯ เป็นประจำทุกปี
  • เปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเสนอเรื่องเพื่อบรรจุเป็นวาระการประชุม และ/หรือ เสนอชื่อบุคคลเพื่อรับการพิจารณาเลือกตั้งเป็นกรรมการบริษัทฯ ในการประชุมผู้ถือหุ้น

ผลการดำเนินงาน

  • มีการพิจารณาการจ่ายปันผลอย่างต่อเนื่อง
  • ประเด็นความเสี่ยงของบริษัทฯ อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
  • มีเงินลงทุนในธุรกิจที่มีแนวโน้มการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
  • สนับสนุนโครงการประกวดนวัตกรรมเครือสหพัฒน์อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
  • ผลประเมินโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการ บริษัทจดทะเบียนประจำปี 2567 (CGR) ในระดับดีเลิศ
  • ผลการประเมินการจัดประเมินผลการจัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น (AGM Checklist) ได้ 100 คะแนน
  • ได้รับการรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย

การตอบสนองต่อเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNSDGs)

แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

  • การประชุมผู้บริหารพบพนักงานประจำปี
  • การสื่อสารโดยตรงถึง CEO
  • สื่อสารผ่านทางออนไลน์
  • การสำรวจความผูกพันของพนักงานต่อองค์กร
  • การเปิดช่องทางรับข้อเสนอแนะ
  • ข้อร้องเรียน

ความคาดหวัง

  • ค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสม
  • การประเมินผลปฏิบัติงานที่เป็นธรรม
  • ความมั่นคงก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
  • มีบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี
  • การพัฒนาศักยภาพ ความรู้ และความสามารถ
  • สิทธิมนุษยชน

การตอบสนองความคาดหวัง

  • ใช้หลักสิทธิมนุษยชนและการปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
  • ปรับปรุงค่าตอบแทน และสวัสดิการที่เหมาะสม
  • ปรับปรุงการประเมินผลการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  • กำหนดความก้าวหน้าในสายอาชีพ (Career Path) และสืบทอดตำแหน่ง
  • จัดหลักสูตรอบรมที่ตรงความต้องการ และทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
  • เปิดโอกาสให้พนักงานภายในสมัครงานในตำแหน่งงานบริษัทฯ
  • จัดหาอุปกรณ์การทำงานอย่างเพียงพอ
  • สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและมีความสุขในการทำงาน
  • SPI Employee Sharing Survey
  • Employee Engagement Survey เป็นประจำทุก 2 ปี
  • กิจกรรมระหว่างผู้บริหารและพนักงาน
  • กิจกรรมสร้างความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน

ผลการดำเนินงาน

  • จัดให้มีระบบสวัสดิการแบบยืดหยุ่น
  • การประเมินผลการปฏิบัติงานของ ผู้บริหารและพนักงาน
  • จัดให้มีการทดสอบ “2024 SPI EXAMINATION” เพื่อส่งเสริมให้พนักงาน ทุกระดับ มี Career advancement
  • ทำแผนพัฒนารายบุคคลสำหรับผู้บริหาร ที่กำลังเกษียณอายุภายใน 3 ปี
  • ผลการสำรวจความผูกพันของพนักงาน ที่มีต่อบริษัทฯ ร้อยละ 83.65
  • จัดกิจกรรม Townhall จำนวน 5 ครั้ง
  • ประกาศรับสมัครพนักงานภายในภายใต้ โครงการ Career Opportunity
  • มีหลักสูตรอบรมสำหรับพนักงาน ทั้งภายในและภายนอกจำนวน 157 หลักสูตร
  • ชั่วโมงการอบรมเฉลี่ยต่อคน เท่ากับ 34.20 ชั่วโมง/ปี
  • สนับสนุนให้พนักงานทุกคนมีสภาพ แวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย
  • สถิติการเกิดอุบัติเหตุและการเสียชีวิตจาก การทํางานเท่ากับ 0
  • ประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน อย่างรอบด้านของกลุ่มพนักงาน พร้อมทบทวนมาตรการในการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผลกระทบ

การตอบสนองต่อเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNSDGs)

แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

  • การสำรวจความพึงพอในของลูกค้าประจำปี
  • การจัดกิจกรรมลูกค้าสัมพันธ์
  • การประชุมร่วมกับลูกค้าโดยตรง
  • เปิดช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ร้องเรียน

ความคาดหวัง

  • ดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
  • บริการหลังการขายที่มีคุณภาพการ
  • บริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า
  • ดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • การบริหารจัดการความเสี่ยงและภาวะฉุกเฉิน

การตอบสนองความคาดหวัง

  • โครงการเมืองอัจฉริยะ
  • สนับสนุนการดำเนินกิจการของลูกค้า เช่น หลักสูตรอบรมเพิ่มศักยภาพประกอบกิจการให้กับลูกค้า
  • พัฒนานวัฒกรรมและเทคโนโลยี เพื่อเป็นการลดต้นทุน และลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
  • จัดทำโครงการเพื่อป้องกันและฟื้นฟูระบบนิเวศ (โครงการสวนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ)
  • ตอบสนองต่อข้อร้องเรียนของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ
  • บริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม
  • มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ
  • พัฒนาการใช้พลังงานทดแทน
  • ดำเนินการบริหารจัดการความเสี่ยงทุกด้าน และเตรียมพร้อมต่อเหตุรับมือต่อเหตุและภาวะฉุกเฉิน
  • ดำเนินการโดยใช้หลักการเคารพสิทธิมนุษยชน

ผลการดำเนินงาน

  • สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชา อยู่ในเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะที่มุ่งมั่นในการพัฒนานวัฒตกรรมและความยั่งยืนเพื่อการเป็น Smart City
  • สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชา และสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี ได้รับการรับรองเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับที่ 5
  • จัดช่องทางรับเรื่องร้องเรียน
  • ผลการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า ร้อยละ 87.23
  • สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชา ส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนจากพลังงานแสงอาทิตย์
  • จัดให้มีกระบวนการประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
  • จัดให้อบรมเพื่อฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

การตอบสนองต่อเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNSDGs)

แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

  • การประชุมร่วมกับคู่ค้าธุรกิจ
  • ตรวจประเมินคู่ค้าธุรกิจ
  • ประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ ทักษะการทำงาน
  • การกำกับดูแลกิจการที่ดี
  • จริยธรรมทางธุรกิจ
  • ช่องทางการสื่อสารผ่านสื่อออนไลน์
  • เปิดช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อร้องเรียน

ความคาดหวัง

  • การทำธุรกิจด้วยความเป็นธรรม
  • สร้างมูลค่าเพิ่มและความร่วมมืออย่างยั่งยืน
  • เคารพสิทธิมนุษยชน
  • การสร้างความยั่งยืนในห่วงโซ่ธุรกิจ

การตอบสนองความคาดหวัง

  • ปฏิบัติตามกฏหมาย หลักการกำกับกิจการที่ดี จริยธรรมและจรรยาบรรณ
  • มีการทบทวนและปรับปรุงแก้ไขข้อปฏิบัติการจัดซื้อ/จัดจ้างตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้เกิดความทันสมัยและเหมาะสม
  • จัดทำโครงการพัฒนาคู่ค้า เช่น การจัดการฝึกอบรมที่เกี่ยวกับกฏหมายที่เกี่ยวข้อง หรือ หลักสูตรที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขัน
  • ใช้หลักสิทธิมนุษยชน
  • ตรวจประเมินด้าน ESG เบื้องต้น

ผลการดำเนินงาน

  • จัดประชุมผู้รับเหมาอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  • ส่งเสริมให้คู่ค้าเข้าร่วมเป็นสมาชืกแนวร่วมการต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย
  • จัดให้มีการทำแบบประเมินตนเองและเข้าประเมินสถานประกอบการ ตามจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับคู่ค้า ครอบคลุมประเด็นด้าน ESG
  • คู่ค้าหลักรายสำคัญที่ทำธุรกิจกับบริษัทโดยตรง (Critical Tier 1 Supplier) เข้าร่วมอบรม เรื่อง การประเมินสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
  • ระยะเวลาในการชำระหนี้ให้คู่ค้าเฉลี่ย 47 วัน

การตอบสนองต่อเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNSDGs)

แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

  • จัดกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์
  • สำรวจความพึงพอใจของชุมชน
  • มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ
  • ระบบบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมขององค์กร (ISO 14001)
  • สื่อสารผ่านออนไลน์
  • เปิดช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อร้องเรียน
  • เปิดให้เยี่ยมชมการดำเนินงานในสวนอุตสาหกรรม

ความคาดหวัง

  • ปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ด้านสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด
  • การแก้ไขปัญหาจราจร
  • การบริหารจัดการน้ำ
  • การบริหารจัดการผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม
  • พัฒนาชุมชนและสังคม
  • สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน
  • ความปลอดภัย

การตอบสนองความคาดหวัง

  • โครงการเมืองอัจฉริยะ
  • แก้ไขปัญหาจราจรกับทุกภาคส่วน
  • บริหารจัดการน้ำอย่างมีระบบ
  • ส่งเสริมผู้ประกอบการภายในสวนอุตสาหกรรมมีระบบการจัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
  • จัดทำโครงการเพื่อป้องกันและฟื้นฟูระบบนิเวศ (โครงการสวนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ)
  • ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชน (การเปิดพื้นที่ให้ชุมชนสำหรับการออกกำลังกาย การจำหน่ายสินค้าชุมชน)
  • การสร้างเครือข่ายชุมชน
  • แก้ไขปัญหาการร้องเรียนต่างๆ
  • ให้ความรู้ และช่วยพัฒนาชุมชนให้พร้อมรับมือภาวะฉุกเฉินต่างๆ
  • มีคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมดูแลงานด้านสิ่งแวดล้อม
  • โครงการ Eco Industrial Park
  • โครงการเกษตรพอเพียง ดร. เทียม โชควัฒนา
  • ให้การสนับสนุน และเข้าร่วมกิจกรรมทางวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น
  • ส่งเสริมและสนับสนุนด้านการศึกษา

ผลการดำเนินงาน

  • ประเมินความสอดคล้องของกฏหมายที่เกี่ยวข้อง และไม่มีค่าปรับจากการละเมิดจากกฏหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
  • สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ลำพูน ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบด้านความปลอดภัยทางถนน และดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม
  • สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ทุกแห่งมีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวรวมมากกว่า ร้อยละ 10
  • มีมาตรการในการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านความหลากหลายทางชีวภาพทั้งนิเวศบนบกและนิเวศแหล่งน้ำ
  • เปิดพื้นที่ให้เพื่อขายสินค้าจากชุมชนในงานสหกรุ๊ปแฟร์ ตลาดนัดชุมชนในพื้นที่สวนอุตสาหกรรม ทุกวันพุธสุดท้ายของเดือน
  • ศูนย์เรียนรู้ด้านการเกษตรและแปรรูปผลิตภัณฑ์ในโครงการเกษตรพอเพียง ดร.เทียม โชควัฒนา
  • มอบทุนเพื่อการศึกษาเป็นประจำทุกปีในงานสักการะองค์ท้าวมหาพรหมของสวนอุตสาหกรรม
  • จัดตั้งคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อม และคณะทำงานด้านความยั่งยืน
  • ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพ (ISO 9001) มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (ISO 14001 และการจัดการพลังงาน (ISO 50001)
  • สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชา อยู่ในเขตส่งเสริมเมืองอัจฉริยะที่มุ่งมั่นในการพัฒนา นวัฒตกรรมและความยั่งยืนเพื่อการเป็น Smart City
  • สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชา และสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี ได้รับการรับรองเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ระดับที่ 5
  • มีกลยุทธ์ แผนงาน และกิจกรรม ในการพัฒนาชุมชนและสังคมที่ครอบคุม ทั้งด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต การสื่อสารและสารสัมพันธ์ด้านความยั่งยืน การศึกษาและกิจกรรมการเรียนรู้ ประเพณีและวัฒนธรรม สุชภาพ และสนับสนุนกิจกรรมสาธารณะประโยชน์
  • ผลการประเมินความพึงพอใจของชุมชนเท่ากับร้อยละ 86.32

การตอบสนองต่อเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNSDGs)

แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

  • สื่อสารผ่านรายงานประจำปี
  • รายงานผลการดำเนินงานผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • เปิดช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อร้องเรียน
  • สื่อสารผ่านสื่ออนไลน์

ความคาดหวัง

  • ปฏิบัติภายใต้กรอบของการแข่งขันที่เป็นธรรม
  • ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้า

การตอบสนองความคาดหวัง

  • ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ปฏิบัติตามกฏหมาย และจรรยาบรรณทางธุรกิจ
  • ให้ความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค

ผลการดำเนินงาน

  • ผลประเมินโครงการสำรวจการกำกับดูแลกิจการ บริษัทจดทะเบียนประจำปี 2567 (CGR) ในระดับดีเลิศ
  • ได้รับการรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย
  • เปิดเผยผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ผ่านแบบแสดงรายการประจำปี / รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) รายงานความยั่งยืน และเว็บไซต์ของบริษัทฯ
  • จัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียน

การตอบสนองต่อเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNSDGs)

แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

  • มีการประชุมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ
  • สื่อสารผ่านรายงานประจำปี
  • รายงานผลการดำเนินงานผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • เปิดช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อร้องเรียนสื่อสารผ่านออนไลน์

ความคาดหวัง

  • ปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆของภาครัฐ
  • มีหลักกำกับดูแลกิจการที่ดี

การตอบสนองความคาดหวัง

  • ปฏิบัติตามกฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ของภาครัฐอย่างเคร่งครัด
  • ส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับบริษัทฯ
  • เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานอย่างครบถ้วน ถูกต้อง โปร่งใส ตรวจสอบได้ และปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ผลการดำเนินงาน

  • ประเมินความสอดคล้องของกฏหมายที่เกี่ยวข้อง และไม่มีค่าปรับจากการละเมิดกฏหมายหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
  • เปิดเผยผลการดำเนินงานของบริษัทฯ ผ่านแบบแสดงรายการประจำปี / รายงานประจำปี (แบบ 56-1 One Report) รายงานความยั่งยืน และเว็บไซต์ของบริษัทฯ
  • จัดทำรายงานการปฏิบัติ ตามมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม
  • จัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียน และเปิดเผยในเว็บไซต์ของบรษัทฯ

การตอบสนองต่อเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNSDGs)

แนวทางการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย

  • สื่อสารผ่านรายงานประจำปี
  • รายงานผลการดำเนินการผ่านช่องทางของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • เปิดช่องทางการรับข้อเสนอแนะ/ข้อร้องเรียน
  • สื่อสารผ่านออนไลน์

ความคาดหวัง

  • มีฐานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง
  • มีความสามารถในการชำระหนี้
  • เปิดเผยฐานะทางการเงินถูกต้องและตรงเวลา

การตอบสนองความคาดหวัง

  • ดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ปฏิบัติตามกฏหมาย และจรรยาบรรณทางธุรกิจ
  • ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามสัญญาเงินกู้และหุ้นกู้อย่างเคร่งครัด

ผลการดำเนินงาน

  • หนี้สินสุทธิ (Net Debt) ต่อ "ส่วนของผู้ถือหุ้น" (Shareholders' Equity)* ในอัตราส่วนไม่เกิน 2.0:1
  • ไม่มีข้อร้องเรียนการไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขตามสัญญาเงินกู้และหุ้นกู้
  • อันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ที่ระดับ “AA-” แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable"

การตอบสนองต่อเป้าหมายความยั่งยืนของสหประชาชาติ (UNSDGs)