ความสำคัญและพันธกิจ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากกิจกรรมทางธุรกิจของบริษัทฯ มีความจำเป็นในการใช้พลังงานเพื่อการดำเนินธุรกิจ โดยมีการใช้พลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงเป็นหลัก. บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญของการลดผลกระทบต่อการดำเนินงานและการใช้ทรัพยากร พลังงาน อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ควบคู่ไปกับการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าที่ใส่ใจต่อผลกระทบจากการใช้พลังงานและต้องการใช้พลังงานสะอาดมากขึ้น

ดังนั้น บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานโดยการปรับปรุงกระบวนการ และเพิ่มโอกาสในการใช้แหล่งพลังงานทางเลือกนอกจาก การลดผลกระทบทางตรงต่อบริษัทฯ แล้วยังเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสร้างรายได้ของบริษัทฯ ในระยะยาวอย่างมั่นคงและยั่งยืน

นโยบายพลังงาน

เป้าหมายและผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

  • ลดการใช้พลังงานไฟฟ้าภายในปี 2568 จากกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัท ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 เมื่อเทียบกับปีฐาน (2567)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

สามารถลดการใช้พลังงานได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ สามารถลดได้มากกว่าเป้าหมายขั้นต่ำที่ตั้งไว้ที่ 1% ประกอบด้วย

โครงการเปลี่ยนโคมไฟถนนเป็น LED ลดได้ 257,252 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี คิดเป็น 2.46% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด

โครงการติดตั้ง Solar Rooftop ลดได้ 117,521.60 กิโลวัตต์-ชั่วโมง/ปี คิดเป็น 1.0% ของการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

พลังงานสะอาดและเข้าถึงได้

โครงสร้างพื้นฐาน นวัตกรรมและอุตสาหกรรม

การผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ระบบนิเวศบนบก

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

แนวทางการบริหารจัดการ

ปริมาณการใช้เชื้อเพลิงและพลังงาน

ในปี 2567 มีการใช้เชื้อเพลิงและพลังงานจากกิจกรรมทางธุรกิจและกิจกรรมสนับสนุนต่าง ๆ ของบริษัทฯ จากพื้นที่สำนักงาน สวนอุตสาหกรรม เครือข่ายพัฒน์ สนามกอล์ฟ และพื้นที่อื่น ๆ ที่อยู่ในการควบคุมของบริษัทฯ ทั้งสิ้น จำนวน 8 พื้นที่ ซึ่งครอบคลุมในทุกพื้นที่ดำเนินการของบริษัทฯ และจะถูกนำไปกำหนดเป็นปีฐานของการพัฒนาระบบการจัดการด้านการใช้พลังงานขององค์กรต่อไป ภาพรวมการใช้เชื้อเพลิงและพลังงานในปีนี้ มีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้า รวม 37.6 ล้านเมกะจูล หรือ 10,444,528.07 กิโลวัตต์-ชั่วโมง และปริมาณการใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงฟอสซิล 10.72 ล้านเมกะจูล รวมการใช้พลังงานทั้งสิ้น 48.32 ล้านเมกะจูล

ปริมาณการใช้พลังงาน (ไฟฟ้า/เชื้อเพลิง)

พื้นที่ดำเนินกิจการ ปริมาณการใช้ไฟฟ้า ปริมาณการใช้เชื้อเพลิง
(กิโลวัตต์ - ชั่วโมง) LPG (กิโลกรัม) น้ำมันดีเซล (ลิตร) น้ำมันเบนซิน (ลิตร)
สำนักงานใหญ่กรุงเทพฯ 209,820.93 - 14,007.05 72,059.54
สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชา 3,307,479.59 - 47,050.68 20,033.03
สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ กบินทร์บุรี 2,317,270.46 - 32,981.40 1,542.34
สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ลำพูน 1,757,480.05 - 19,931.33 2,354.00
สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ แม่สอด 116,374.69 - 4,806.74 1,550.25
เจพาร์ค ศรีราชา นิฮอน มูระ จังหวัดชลบุรี 1,291,044.60 8,640.00 - 661.26
สนามกอล์ฟกบินทร์บุรี สปอร์ตคลับ จังหวัดปราจีนบุรี 1,485,154.00 7,293.00 29,204.00 18,122.00
สนามกอล์ฟหริภุญชัย กอล์ฟคลับ จังหวัดลำพูน 92,240.00 - 10,338.00 5,861.00
รวมทั้งสิ้น 10,576,864.32 15,933.00 158,319.19 122,183.41

สำนักงานใหญ่กรุงเทพ ประกอบด้วย สำนักงานพระราม 3 และสามย่านมิตรทาวน์

จากการวิเคราะห์ปริมาณการใช้พลังงานรวมในกิจกรรมหลักทางธุรกิจขององค์กร พบว่า บริษัทฯ มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงานหลักใน กิจกรรมการดำเนินงาน รวมถึงมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้ไฟฟ้า (Scope 2) เป็นจำนวนมากและถือเป็นแหล่งการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหลักขององค์กร บริษัทฯ จึงได้ให้ความสำคัญในการจัดการพลังงาน รวมถึงการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพภายในองค์กร โดยกำหนดแนวทางในการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า ในกระบวนการทำงานหลัก เพื่อให้หน่วยงานรวบรวม ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องได้มีส่วนในกระบวนการรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กรที่ได้กำหนดไว้ทั้งหมด เนื่องจาก บริษัทฯ มีการเก็บรวมข้อมูลการใช้พลังงานของบริษัทฯ ครอบคลุมทุกพื้นที่ดำเนินการของ บริษัทฯ ในปี 2567 ดังนั้นบริษัทฯ จะใช้ข้อมูลปี 2567 เป็นปีฐานในการ กำหนดเป้าหมายการลดการใช้พลังงาน รวมถึงการพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้าผ่านโครงการต่างๆ พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมาย โครงการเพื่อลดการใช้พลังงานในภาพรวมของบริษัทฯ

การใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ส่วนกลางของสวนอุตสาหกรรม
  • ปรับเปลี่ยนระบบให้แสงสว่างบริเวณถนนภายในสวนอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยใช้หลอด LED ทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ และมีระบบแสงโซลาร์เซลล์ที่ใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ได้
  • จัดให้มีระบบการควบคุมการเปิด - ปิด อัตโนมัติ ของระบบแสงสว่างในพื้นที่ส่วนกลางของสวนอุตสาหกรรม
  • ปรับปรุง/ซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้าและเพิ่มสัดส่วนการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาด
การใช้ไฟฟ้าในระบบการผลิตน้ำเพื่อการอุตสาหกรรม
  • มีการวางแผนการซ่อมบำรุงเครื่องจักรอย่างต่อเนื่อง และตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพ ที่พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
  • ปรับเปลี่ยนเวลาเดินเครื่องจักรให้มีความเหมาะสม
การใช้ไฟฟ้าในระบบบำบัดน้ำเสีย
  • ปรับระยะเวลาการเดินระบบให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำเสียที่เข้าระบบและระยะเวลาการเดินอากาศให้เหมาะสมกับคุณภาพน้ำเสียที่เข้าระบบบำบัด
  • จัดให้มีการวางแผนการซ่อมบำรุง/ตรวจสอบสภาพความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ และตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ปกติ
  • มีระบบการบริหารจัดการพลังงาน (ISO 50001) เพื่อให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ไฟฟ้าในระบบหมุนเวียนน้ำและการรีไซเคิล
  • ตรวจเช็คอุปกรณ์ไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ปกติ และปรับปรุง/ซ่อมบำรุงเครื่องจักรที่ใช้พลังงานมากในระบบสูบน้ำ
  • เพิ่มการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานสะอาดในระบบการสูบน้ำ
การใช้ไฟฟ้าในอาคารสำนักงาน
  • ส่งเสริมให้พนักงานร่วมกันประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าในสำนักงาน เช่น ปิดไฟส่องสว่าง ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า ระหว่างเวลาพักหรือเมื่อไม่ได้ใช้งาน
  • กำหนดอุณหภูมิในการเปิดระบบปรับอากาศ หรือระบบทำความเย็นภายในสำนักงานไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

พนักงาน/ผู้บริหาร

มีส่วนร่วมในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าในสำนักงาน

ลูกค้า

มีความต้องการใช้พลังงานสะอาดและใส่ใจผลกระทบจากการใช้พลังงาน

คู่ค้าและซัพพลายเออร์

มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบการใช้พลังงาน

ภาครัฐ

มีการส่งรายงานการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

0