กระบวนการประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน บริษัทฯ ระบุประเด็นความสำคัญด้านความยั่งยืน โดยพิจารณาจากปัจจัยภายในและปัจจัยการศึกษาข้อมูลแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลก รวมถึงความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม และมีการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ
โดยใช้ตัวชี้วัดการเป็นสวนอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ และเอกสารแนะนำตัวชี้วัดด้านความยั่งยืน เพื่อให้ได้มาซึ่งประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่ถูกต้องและสอดคล้องกับบริบทของธุรกิจมากที่สุด โดยคัดเลือกประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน ตามหลักการกำหนดเนื้อหา และแนวโน้มของโลก ซึ่งยึดหลักมาตราฐานการรายงานความยั่งยืนสากล
โดยมีขั้นตอนการประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืนซึ่งมีการระบุประเด็นสำคัญของธุรกิจประจำปี ยกตัวอย่างเช่น SWOT analysis และ SGDs เป็นต้น และมีการจัดลำดับความสำคัญซึ่งคำนึงถึงผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงด้านธรรมาภิบาลและประเด็นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียให้ความสนใจตามลำดับ และในส่วนสุดท้ายจะมีการทวนสอบโดยคณะกรรมการของบริษัททำให้ได้ผลการประเมินประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญซึ่งแบ่งประเด็นออกเป็นสามมิติคือ มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม และมิติสิ่งแวดล้อม
ขั้นตอนการประเมินประเด็นที่มีนัยสำคัญด้านความยั่งยืน
การระบุประเด็น
วิเคราะห์จากปัจจัยการศึกษาข้อมูลแนวโน้มและทิศทางการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โลกตามความต้องการจากผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม การบริหารความเสี่ยงของบริษัท วิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และรวมถึง
- การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามต่างๆ (SWOT Analysis)
- การวิเคราะห์ภาพรวมความเสี่ยงองค์กร (Corporate Risk Profile)
- ตัวชี้วัดอุตสาหกรรมเขิงนิเวศ (Eco Industrial Park Index)
- เป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนของสหประชาขาติ (UN SDGs)
- ตัวชี้วัดที่ใช้ในการประเมินผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ ธรรมาภิบาล สิ่งแวดล้อม และสังคม (ESG Metrics)
โดยคัดเลือกประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจ (Materiality Assessment) และแนวโน้มของโลก (Global Mega Trends)
การจัดลำดับความสำคัญ
การจัดลำดับโดยพิจารณาบริบทการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปของแต่ละประเด็น ซึ่งมีการวิเคราะห์ ระบุประเด็นที่มีความสำคัญต่อบริษัท และผู้มีส่วนได้เสีย สองมิติ
- ประเด็นที่มีหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ต่อบริษัทฯ
- ประเด็นที่มีผลกระทบหรืออยู่ในความสนใจของผูัมีส่วนได้เสีย
การทวนสอบประเด็นที่มีนัยสำคัญ
มีการทวนสอบครบถ้วนที่มีนัยสำคัญ โดยพิจารณาอนุมัติประเด็นความยั่งยืนที่มีนัยสำคัญภายใต้ขอบเขตและผลกระทบของบริษัทฯ ทั้งนี้จะต้องผ่านการพิจารณาให้ความเห็นชอบจาก
- คณะกรรมการธรรมาภิบาลและบริหารความเสี่ยง
- คณะกรรมการความยั่งยืนกิจการ
ประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน

มิติสิ่งแวดล้อม
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและคุณภาพน้ำ
การบริหารจัดการประสิทธิภาพเชิงนิเวศ
ความหลากหลายทางชีวภาพ
การบริหารจัดการคุณภาพอากาศ/เสียง
การบริหารจัดการพลังงาน
การจัดการขยะ/ของเสีย
มิติเศรษฐกิจและการกำกับกิจการ
การบริหารจัดการนวัตกรรม
การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
การต่อต้านการทุจริต คอร์รัปชัน
ความปลอดภัยทางไซเบอร์และการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล
การกำกับดูแลกิจการ
ความรับผิดชอบต่อลูกค้า
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม