บริษัทฯ ได้กำหนดกรอบของการบริหารจัดการความยั่งยืน เพื่อใช้เป็นกรอบของการดำเนินงาน เพื่อสร้างความยั่งยืนภายในองค์กร ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ คือ การกำกับกิจการที่ดีเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม
โดยให้ความสำคัญกับการเติบโตของการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ภายใต้กลยุทธ์การขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน ตามหลักการของการสร้างความยั่งยืน

เพื่อลดผลกระทบเชิงลบ และ/หรือเพิ่มผลกระทบเชิงบวกที่อาจเกิดขึ้นจากกระบวนการดำเนินงาน และกระบวนการดำเนินงานนี้ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง บริหารจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการอยู่ร่วมกันระหว่างอุตสาหกรรมและสังคมอย่างสมดุลและมีคุณภาพ พร้อมทั้งสามารถตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ และสร้างคุณค่าที่ยั่งยืนแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
ซึ่งนอกจากนโยบายและกรอบการดำเนินงานเพื่อสร้างความยั่งยืนองค์กรแล้ว บริษัทฯ ยังได้นำหลักการของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) มาใช้ในการขับเคลื่อนกิจกรรมการดำเนินงานด้านความ ยั่งยืนที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบทางลบและของเสียจากการดำเนินงาน ตลอดจนการใช้มาตรฐานสากล เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เช่น เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (International Organization for Standardization: ISO) มาตรฐานการเปิดเผยข้อมูล ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลองค์กร Global Reporting Initiative (GRI) และแนวทางการพัฒนาเพื่อการเป็นเมือง อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) ตามกรอบการดำเนินงานของกองพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลมาใช้เพื่อสนับสนุนและประยุกต์ให้เข้ากับกระบวนการดำเนินงานของสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ทั้งหมดภายใต้การดูแลของบริษัท ซึ่งกรอบของการพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศประกอบด้วยการดูแล จัดการทั้งหมด 5 มิติ 20 ด้าน ครอบคลุมการดำเนินงานทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม
นอกจากนั้น บริษัทฯ ได้กำหนดกรอบของแผนงานด้านความยั่งยืนขององค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืนของสหประชาชาติ หรือ United Nations Sustainable Development Goals: UNSDGs ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ คือ บริหารจัดการอย่างมีความรับผิดชอบเพื่อสร้างโอกาสอย่างต่อเนื่อง ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบ และตอบสนองต่อความต้องการและรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย
บริหารจัดการอย่างมีความรับผิดชอบเพื่อสร้างโอกาสอย่างต่อเนื่อง
- การลงทุนอย่างความรับผิดชอบ บูรณาการประเด็นทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรษัทภิบาล มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินการ และประเมินผลองค์กร
- มีความยืดหยุ่นและการปรับตัวทางธุรกิจ มีความสามารถในการยืดหยุ่นปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลง
- พัฒนานวัฒกรรม โดยการส่งเสริมให้เกิดนวัฒกรรมต่างๆ ที่ก่อให้เกิดคุณค่าและสร้างความแข็งแกร่งและความสามารถในการแข่งขัน
- บริหารจัดการความเสี่ยง มีการประเมินและบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างครอบคลุม ทั้งประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล รวมถึงสิทธิมนุษยชน ในทุกกระบวนการดำเนินธุรกิจ
ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและมีความรับผิดชอบ
- ทรัพยากรและห่วงโซ่อุปทาน ส่งเสริมการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน พร้อมเลือกใช้ทรัพยากรอย่างมีความรับผิดชอบและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
- ทรัพยากรน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพของการใข้ทรัพยากรน้ำรวมถึงการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างปลอดภัย
- พลังงานและคาร์บอน เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานภายในองค์กรอย่างรู้คุณค่าและมีประสิทธิภาพ รวมถึงส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานหมุนเวียน หรือพลังงานสะอาด
- ขยะและของเสีย ลดการเกิดขยะและของเสียตามหลักการบริหารจัดการ 3Rs คือ ลดการใช้ (Reduce) นำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการใช้ซ้ำ (Reuse)
- ความหลากหลายทางชีวภาพ อนุรักษ์และป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อความหลากหลายทางชีวภาพและระบบนิเวศ และส่งเสริมการฟื้นฟู สนับสนุน และจัดให้มีพื้นที่สีเขียวภายในพื้นที่โครงการ
มีการเข้าถึงและตอบสนองต่อความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย
- สุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี จัดให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีในการทำงานเพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความสมดุลต่อสุขภาวะและความเป็นอยู่ที่ดี
- ทักษะและความเป็นผู้นำ พัฒนาทักษะที่จำเป็นอย่างครอบคลุม รวมถึงส่งเสริมภาวะการเป็นผู้นำผ่านหลักสูตรที่สนับสนุนสร้างสรรค์กิจกรรม และนวัตกรรมเพื่อส่งมอบคุณค่าของผลิตภัณฑ์ และบริการที่มีมูลค่าสูง
- ความหลากหลายและการอยู่ร่วมกัน ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเท่าเทียม และไม่เกิดการแบ่งแยก ทั้ง อายุ เพศ ความพิการ เชื้อชาติ สัญชาติ ศาสนา หรือฐานะทางสังคมหรืออื่นๆ
- ชุมชนสัมพันธ์ ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าทางสังคมและการมีส่วนร่วมเพื่อชุมชนที่ยั่งยืน