ความสำคัญและพันธกิจ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการจัดการประเด็นด้านการเคารพสิทธิมนุษยชนในการประกอบกิจการและการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ พร้อมประกอบธุรกิจบนพื้นฐานของการเคารพต่อสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม รวมถึงกลุ่มผู้มีอัตลักษณ์ความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) กลุ่มผู้เปราะบาง และผู้ด้อยโอกาส พร้อมให้การยอมรับต่อความแตกต่างอย่างเท่าเทียม ทั้งทางด้านความคิดและสังคม โดยปรับใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อป้องกันความเสี่ยงและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้วยเหตุนี้ เพื่อแสดงความมุ่งมั่นและการจัดการประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเคารพสิทธิมนุษยชนขององค์กร บริษัทฯ จึงได้จัดให้มีนโยบายสิทธิมนุษยชน โดยยึดหลักปฏิบัติตามแนวทางสากลด้านสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด

นอกจากนี้การให้ความสำคัญต่อการเคารพสิทธิมนุษยชนต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม บริษัทฯ ยังได้จัดให้มีและประกาศนโยบายความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงาน ที่ให้ความสำคัญต่อการไม่บังคับใช้แรงงาน การไม่เลือกปฏิบัติ แรงงานเด็กและแรงงานผู้หญิง แรงงานสัมพันธ์ การคุกคามทางเพศ ความรุนแรงในสถานที่ทำงาน และความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อเป็นแนวปฏิบัติ และกรอบการดำเนินงานที่ให้เป็นมาตรฐานสากลและความเท่าเทียม

เป้าหมายและผลการดำเนินงาน

เป้าหมาย

  • ไม่มีข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนภายในองค์กรและจากการดำเนินกิจการของบริษัท
  • มีการประเมินและทบทวนประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทางตรง ในห่วงโซ่ทางธุรกิจ ร้อยละ 100

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

ไม่มีข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชนภายในองค์กรและจากการดำเนินกิจการของบริษัท

ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนที่มีความเสี่ยงสูงทุกประเด็น ร้อยละ 100 ได้รับการตรวจสอบโดยส่วนงานที่เกี่ยวข้อง

การสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ความเท่าเทียมทางเพศ

ลดความเลื่อมล้ำ

ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

แนวทางการบริหารจัดการ

บริษัทฯ ได้ตระหนักถึงผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนต่อผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน เนื่องจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจมีส่วนสำคัญในการส่งเสริมผลกระทบเชิงบวกในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่นสร้างอาชีพให้คนในชุมชน รวมถึงยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้เข้าถึงระบบสาธารณูปโภคและสาธารณสุขบริการขั้นพื้นฐานที่ดี แต่ในขณะเดียวกันการดำเนินธุรกิจของสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ก็มีความเสี่ยงและโอกาสเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้มีส่วนได้เสีย เช่นกัน ด้วยการสร้างมลภาวะต่างๆ ที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพและรบกวนคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี หรือแม้กระทั่งการสร้างสภาวะการทำงานที่ไม่ปลอดภัยสำหรับพนักงานที่ปฏิบัติงานภายในพื้นที่ ด้วยเหตุดังกล่าว เพื่อสนับสนุนในการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนและมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น ตลอดห่วงโซ่ของคุณค่าทางธุรกิจ

บริษัทฯ จึงกำหนดกระบวนการดำเนินงานเพื่อติดตามและตรวจสอบสถานะสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) ตามหลักการชี้นำขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights) เพื่อจัดการกับความเสี่ยงจากประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนรวมถึงส่งเสริมวัฒนธรรมการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนภายในองค์กร

นโยบายสิทธิมนุษยชน นโยบายความรับผิดชอบทางสังคมด้านแรงงาน

การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

จัดทำนโยบายและ แนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน

(Policy Commitment)

ประเมินความเสี่ยงและผลกระทบในทุกขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ ที่อาจมีผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชนต่อทุกกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย

(Human Rights Risk and Impact Assessment)

กำหนดมาตรการเพื่อควบคุมหรือลดผลกระทบด้านลบในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น

(Cases, prevent or, mitigate adverse human rights impact)

ติดตามผลการดำเนินงานและรายงานต่อผู้บริหารตลอดจนสื่อสารและเปิดเผยต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

(Track and Communicate)

จัดให้มีช่องทางรับเรื่องร้องเรียนหรือร้องทุกข์ เกี่ยวกับพร้อมกลไกการเยียวยาเมื่อเกิดผลกระทบเชิงลบด้านสิทธิมนุษยชน

(Grievance & Remedy)

จัดสร้างความตระหนักแก่พนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย ให้ดำเนินงานตามหลักการและเคารพสิทธิมนุษยชน

(Embeldding Report for Human Rights)

การวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทฯ ได้ทำการประเมินและตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD) ตลอดห่วงโซ่ทางธุรกิจ ตามหลักการชี้นำของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (United Nation Guiding Principle on Business and Human Rights) ที่ต้องพิจารณาสิทธิขั้นพื้นฐานด้านการเคารพต่อสิทธิมนุษยชน 4 สิทธิ ได้แก่ สิทธิด้านแรงงาน สิทธิด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สิทธิของลูกค้า/ผู้บริโภค และสิทธิในที่อยู่อาศัยและการประกอบอาชีพ รวมถึงวิเคราะห์เหตุการณ์หรือสถานการณ์ด้านการละเมิดด้านสิทธิมนุษยชน จากการดำเนินกิจกรรมของธุรกิจที่ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทางตรงของบริษัทฯ โดยใช้หลักการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงขององค์กรหรือกิจกรรมขององค์กรเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง 3 กรณีได้แก่

Cause - องค์กรหรือกิจกรรมการดำเนินงานเป็นสาเหตุทำให้เกิด

Contribute - องค์กรหรือกิจกรรมการดำเนินงานมีส่วนร่วมทำให้เกิด

Link to - องค์กรหรือกิจกรรมมีส่วนเกี่ยวข้องทำให้เกิด

การจัดลำดับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

จากผลการวิเคราะห์เหตุการณ์หรือประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน บริษัทฯ ได้นำมาเหตุการณ์ที่ได้จากการทบทวนและวิเคราะห์มาพิจารณาความรุนแรง (Severity) และโอกาสเกิดในการเกิด (Likelihood) เพื่อหาระดับของความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน โดยใช้ตารางเมทริกซ์ (Risks Assessment Matrix) ในการหาระดับของความรุนแรงในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อการ กำหนดและทบทวนมาตรการเพื่อยุติ ลด และป้องกันความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้น ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในกรณีที่ พบว่าความเสี่ยงนั้นอยู่ในระดับสูง และจัดให้มีการกำหนดและทบทวนมาตรการในการเยียวยาผลกระทบของบริษัทฯ ในกรณีที่เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในกิจกรรมการดำเนินงาน ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ทำการเปิดเผยระดับของความรุนแรง (Severity) และโอกาสในการเกิดผลกระทบที่นำวิเคราะห์ ไว้ในเวปไซต์ของบริษัทฯ

การจัดลำดับความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

ผลการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

ขอบเขตการประเมิน ร้อยละของกิจกรรมทางธุรกิจที่รับการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ร้อยละของกิจกรรมที่พบว่ามีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในระดับสูง ร้อยละของกิจกรรมที่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนสูงมาก และมีมาตรการป้องกัน และบรรเทาผลกระทบ
พื้นที่ดำเนินกิจการของบริษัทฯ (สำนักงานใหญ่, สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์, สนามกอล์ฟ และเจพาร์ค นิฮอน มูระ) 100 20 100
การเจรจาต่อรอง

บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้พนักงานแต่งตั้งตัวแทนเพื่อเจรจาต่อรอง รวมทั้งเพื่อการสื่อสารกับฝ่ายบริหารของบริษัทฯ โดยจัดให้ มีการเลือกตั้งพนักงานเพื่อเป็นตัวแทนในคณะกรรมการสวัสดิการในสถานประกอบการตามมาตรา 96 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครอง แรงงาน พ.ศ. 2541 โดยมีอำนาจหน้าที่เพื่อร่วมหารือเพื่อจัดการสวัสดิการให้คำแนะนำและเสนอแนะความเห็นแก่นายจ้างรวมถึงเสนอข้อคิดเห็นและแนวทางต่างๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ลูกจ้างต่อคณะกรรมการสวัสดิการแรงงาน ทั้งนี้ บริษัทฯ ให้อำนาจการดำเนินงานของคณะกรรมการสวัสดิการอย่างอิสระ พร้อมทั้งให้การอำนวยความสะดวกแก่คณะกรรมการสวัสดิการในการจัดประชุมและ การประชาสัมพันธ์

ช่องทางการร้องเรียน

บริษัทฯ ได้เปิดโอกาสให้พนักงานหรือผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มได้แสดงความคิดเห็นหรือร้องเรียน โดยจัดให้มีช่องทางในการแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียนในด้านสิทธิมนุษยชน และประเด็นที่ขัดต่อกฎหมายระเบียบ ข้อบังคับ จรรยาบรรณ พร้อมทั้งมีกลไก ในการคุ้มครองผู้ที่ร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสจะเข้าถึงข้อมูลการร้องเรียนได้เฉพาะผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องเท่านั้น รวมถึงเก็บรักษาข้อมูลต่างๆ ไว้เป็นความลับ และมีการตั้งคณะกรรมการ สอบสวนข้อร้องเรียนดังกล่าวอย่างเป็นธรรม และแจ้งผลกลับไปยังผู้ร้องเรียนตามกรอบระยะเวลาที่เหมาะสม โดยจัดให้มีและกำหนดช่องทางรับเรื่องร้องเรียนไว้ผ่านช่องทางต่างๆ

การส่งเสริมการตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชน

บริษัทฯ ได้สร้างความตระหนักรู้แก่พนักงานและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทางธุรกิจ โดยจัดให้มีการอบรมในหลักสูตรการประเมินและตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 - 21 สิงหาคม พ.ศ. 2567 และบริษัทฯ ได้เชิญคู่ค้าหลักรายสำคัญที่ทำธุรกิจสนับสนุนการดำเนินธุรกิจหลักของบริษัทฯ (Critical Tier 1 Supplier) เข้ามาร่วมเป็นผู้อบรมเพื่อรับฟังการบรรยายเชิงทฤษฎี และเชิงปฏิบัติการในการวิเคราะห์ความเสี่ยงของการดำเนินกิจการ ต่อการละเมิดในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนร่วมกับบริษัทฯ เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้ถึงความรับผิดชอบและการเคารพสิทธิมนุษยชนในทุกกิจกรรมทางธุรกิจตลอดจนความเสี่ยงและผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่อุปทาน ให้สามารถนำไปปรับใช้ ในกระบวนการของคู่ค้าของบริษัทฯ ได้

ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง

พนักงาน

ได้รับการดูแลด้านสิทธิแรงงาน สภาพการทํางานที่ปลอดภัยและการพัฒนาศักยภาพ

คู่ค้าและซัพพลายเออร์

ได้รับการประเมินด้านสิทธิมนุษยชน และต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ

ชุมชนและสังคม

ได้รับการดูแลด้านคุณภาพชีวิต การพัฒนาอาชีพ และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ

ลูกค้า

ได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพและปลอดภัย

ภาครัฐ/หน่วยงานกำกับดูแล

ได้รับผลตอบแทนที่เป็นธรรม และบริษัทดำเนินงานอย่างโปร่งใส