โครงการเกษตรพอเพียง ดร.เทียม โชควัฒนา สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ลำพูน

เปิดดำเนินโครงการโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นศูนย์กลางทางการเรียนรู้ด้านการเกษตรให้แก่ชุมชนโดยรอบพื้นที่ ในปี 2567 บริษัทฯ ได้จัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมทักษะ อาชีพให้พนักงานของบริษัทในเครือสหพัฒน์ลำพูน ร่วมกับสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จังหวัดลำพูน ภายใต้ โครงการ “แรงงานพันธุ์ดีตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดลำพูน เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาส มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567” ซึ่งได้เชิญผู้ประกอบการในจังหวัดลำพูนเข้าร่วมกิจกรรม โดย โครงการนี้ทาง บริษัทฯ ได้สนับสนุนพื้นที่ของโครงการเกษตรพอเพียง ดร. เทียม โชควัฒนา จังหวัดลำพูน สำหรับใช้ในพิธี เปิดโครงการฯ และให้เจ้าหน้าที่ร่วมเป็นวิทยากรในการอบรม เรื่อง “การปลูกผักในวัสดุเหลือใช้” เพื่อเป็นการใช้พื้นที่ภายใน สถานประกอบการให้เกิดประโยชน์ เกิดความรู้ เป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับพนักงาน รวมถึงต่อยอดโครงการอันเนื่องมาจาก พระราชดำริ เกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อส่งเสริมให้นายจ้างและลูกจ้าง สามารถพึ่งพาตนเองได้ตามแนวหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
การจัดอบรมสัมมนาให้กับพนักงานของบริษัทในเครือ
จากการดำเนินโครงการดังกล่าว บริษัทฯ ได้เชิญชวนให้มีบริษัทในเครือสหพัฒน์ อาทิเช่น บริษัท ทีเอ็นแอลเอ็กซ์ จำกัด, บริษัท วาโก้ลำพูน จำกัด และบริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด (มหาชน) สาขาลำพูน เข้าร่วมกิจกรรมและจัดให้มีการอบรมสัมมนาให้กับ พนักงานของบริษัทในเครือที่เข้าร่วมโครงการ โดย บริษัท สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) สนับสนุนสถานที่ และวิทยาการ ในการอบรม ในหัวข้อต่างๆ เช่น
- ให้ความรู้การถนอมอาหาร ปลูกพืชผักสวนครัว และการทำน้ำสมุนไพร ให้กับพนักงาน บริษัท วาโก้ลำพูน จำกัด
- อบรมสัมมนาทางการเกษตร สร้างอาชีพเสริมให้กับพนักงาน บริษัท ทีเอ็นแอลเอ็กซ์ จำกัด
- อบรมเพิ่มทักษะให้กับพนักงาน บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จากัด (มหาชน) สาขาลำพูน ซึ่งเป็นพนักงานที่ใกล้เกษียณอายุ โดยอบรมเกี่ยวกับเรื่อง การทำไข่เค็ม การทำสบู่สมุนไพร และทำน้ำสมุนไพร
ส่งเสริมการจ้างแรงงานกลุ่มอ่อนไหว
โครงการเกษตรพอเพียง ดร.เทียม โชควัฒนา จังหวัดลำพูน นอกจากจะเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ด้านการเกษตรแล้ว ยังมีการ ส่งเสริมการจ้างแรงงานกลุ่มบุคคลวัยเกษียณหรือกลุ่มที่ไม่มีวุฒิการศึกษา แต่มีคุณสมบัติและความสามารถในการประกอบอาชีพหรือเป็นปราชญ์ชาวบ้านให้เข้ามาทำงานภายในโครงการฯ โดยในปี 2567 มีการจ้างแรงงานท้องถิ่น จำนวน 9 คน คิดเป็นมูลค่าการจ้าง หรือค่าจ้างแรงงานทั้งสิ้น 2,402,232 บาท
การเปิดพื้นที่เรียนรู้ โครงการเกษตรพอเพียง ดร.เทียม โชควัฒนา
นอกจากการส่งเสริมการเรียนรู้แล้ว โครงการเกษตรพอเพียง ดร.เทียม โชควัฒนา ซึ่งตั้งอยู่ภายในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ยังได้เปิดพื้นที่ให้คณะบุคคลต่างๆ ภายนอก เช่น เกษตรกร นักเรียน นักศึกษา หน่วยงานภาครัฐ/เอกชน หรือประชาชนผู้มีความ สนใจ สามารถเข้ามาเยี่ยมชมการดำเนินการด้านการเกษตรภายในโครงการได้ โดยในปี 2567 นี้ มีคณะบุคคลเข้ามาเยี่ยมชมโครงการฯ จำนวน 12 คณะ คิดเป็นผู้เยี่ยมชมทั้งสิ้น 419 คน
การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัยและสุขอนามัยของชุมชน
บริษัทฯ มีนโยบายในการนำน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจากสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ลำพูน มาใช้ใหม่ภายในพื้นที่ 100% โดยไม่มีการปล่อยออกสู่พื้นที่สาธารณ เพื่อเป็นการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อมและชุมชน รวมถึงสร้างความมั่นใจและ ความปลอดภัยให้แก่ชุมชนจากการใช้ประโยชน์จากน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดตามมาตรฐานแล้ว ในปี 2567 โครงการเกษตรพอเพียง ดร.เทียม โชควัฒนา มีการใช้น้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดแล้วทั้งสิ้น 206,424 ลูกบาศก์เมตร
ปัจจุบัน โครงการเกษตรพอเพียง ดร. เทียม โชควัฒนา จังหวัดลำพูน มีผลผลิตทางการเกษตรที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการ ปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีและเหมาะสม (Good Agricultural Practices : GAP) จำนวนทั้งหมด 28 ชนิด ซึ่งการขอรับรองมาตรฐาน GAP ดังกล่าวจะแสดงถึงผลผลิตที่มีคุณภาพที่ดี มีมาตรฐานตรงตามที่กำหนดและเกิดจากกระบวนการผลิตปลอดภัยต่อเกษตรกร และผู้บริโภค รวมถึงมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อสร้างความยั่งยืนทางการเกษตรและไม่เกิดมลพิษกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการฯ ให้ความสำคัญกับการรับรองผลผลิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจากโครงการฯ ได้รับการยอมรับและสร้าง ความเชื่อมั่นต่อผลผลิตภายในโครงการ บริษัทฯ จึงมีการต่ออายุใบรับรองดังกล่าวทุก 3 ปี สำหรับผลไม้ และทุก 2 ปี สำหรับพืชผัก การเปิดพื้นที่เรียนรู้ โครงการเกษตรพอเพียง ดร.เทียม โชควัฒนา
ผลประโยชน์จากโครงการเกษตรพอเพียง ดร.เทียม โชควัฒนา
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในปี 2567 จากการดำเนินโครงการเกษตรพอเพียง ดร.เทียม โชควัฒนา ทำให้เกิดมูลค่าแก่บริษัทฯ ในด้าน การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและรายรับที่เกิดขึ้นจากการจำหน่ายผลผลิตในพื้นที่โครงการทั้งสิ้น 2,274,654 บาท